หลักการสื่อสาร


2.หลักการสื่อสารในการเผยแพร่ระบบทางการศึกษา
       หลักการสื่อสารที่ใช้ในการเผยแพร่ระบบทางการศึกษาขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร  ได้แก่  คุณลักษณะผู้ส่งสาร  หรือเนื้อหาสาระ  คุณภาพของสื่อหรือช่องทาง  และคุณลักษณะของผู้ส่งสาร

      คุณลักษณะของผู้ส่งสาร  คือ  ผู้เผยแพร่ระบบ  ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์  เป็นที่ยอมรับของผู้รับสาร  กล่าวคือ  เป็นผู้ที่มีทั้งวุฒิและความสามารถ  ทำได้ดังที่พูด  มีความสามารถในการสื่อสาร  ถ่ายทอดสารแก่ผู้รับสาร  ทำเรื่องยากให้เข้าใจง่าย  รู้จักผู้รับสาร  รู้จักเนื้อหาสาระของเรื่องที่จะสื่อสารเป็นอย่างดีและสามารถที่จะใช้สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดได้อย่างเหมาะสม

      คุณภาพของสารหรือเนื้อหาสาระ  ได้แก่  เรื่องที่เกี่ยวกับการจัดระบบ  จะต้องได้รับการปรุงแต่งให้เหมาะสมกับระดับของผู้ส่งสาร  กล่าวคือ  การจัดระบบเป็นเรื่องใหม่ที่อาจจะเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก  จำเป็นจะต้องนำเนื้อหาสาระมาวิเคราะห์แบ่งแยกให้ง่ายลง  หาวิธีการเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจได้ง่ายขึ้น

       คุณภาพของสื่อหรือช่องทางในการสื่อสาร  ได้แก่  เครื่องมือทุกประเภทที่จะนำมาใช้เป็นตัวกลางหรือพาหนะ  นำเนื้อหาสาระไปถ่ายทอดผู้รับสารได้ทราบ  ผู้เผยแพร่จำเป็นต้องเลือกสื่อหรือช่องทางที่เหมาะสม  โดยใช่สื่อบุคคล  (ในการบรรยาย  อธิบาย  สัมมนา  ฯลฯ)  สื่อโสตทัศน์  หรือสื่อมวลชนตามแต่ประเภทของผู้รับ

      คุณลักษณะของผู้รับสาร  ได้แก่  ธรรมชาติ  พื้นฐานความรู้  ทัศนคติ   ค่านิยม  ความสนใจที่มีต่อการจัดระบบ  การให้ผู้ส่งสารได้ทราบเกี่ยวกับผู้รับสาร  การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหา  ความต้องการและความจำเป็นของผู้รับสารการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหา  ความต้องการและความจำเป็นของผู้รับสารเป็นต้น

       หลักการสื่อสารในการเผยแพร่ระบบทางการศึกษาที่สำคัญคือ  การที่ผู้เผยแพร่ระบบทางการศึกษาจะต้องทำให้ผู้รับการเผยแพร่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดและการใช้ระบบอย่างชัดเจน  ขจัดปัญหาเรื่องอุปสรรคทางกายภาพและทางจิตภาพให้น้อยที่สุด  และให้ผู้รับสารได้รับความรู้ที่แม่นตรงและถูกต้องที่สุด  ด้วยเหตุนี้ผู้เผยแพร่ระบบจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมในด้านข้อมูลหรือเนื้อหาสาระ  วางแผนจัดหา  และผลิตสื่อที่จำเป็นไว้ล่วงหน้าอย่างมีคุณภาพ  และศึกษาภูมิหลังของผู้รับสารเป็นอย่างดีจึงจะทำให้การเผยแพร่ระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

 
                                                                          
ที่มา : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์

ศาสตราจารย์  ดร. ชัยยงค์  พรหมวงศ์

รองศาสตราจารย์  ดร. ไชยศ  เรืองสุวรรณ

 

 
      

        

    

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น