ความหมายและหลัการ


การเผยแพร่ทางการศึกษา
ความหมายและหลักการเผยแพร่ระบบทางการศึกษา
     ความหมายและหลักการเผยแพร่ทางการศึกษาเป็นการถ่ายถอดความรู้และวิธีการการเกี่ยวกับการจัดระบบเพื่อสร้างการยอมรับ  และให้ความร่วมมือในการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้ทราบ  โดยพยายามหาหลักการที่เกี่ยวข้องมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
      โดยทั่วไปแล้ว  การเผยแพราระบบทางการศึกษาครอบคลุมหลักการหลายด้านในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะหลักการทางด้านจิตวิทยาและหลักการสื่อสาร

1.หลักการทางจิตวิทยาในการเผยแพร่ระบบทางการศึกษา
         การเผยแพร่แนวความคิดใหม่ๆ  เป็นการสื่อสารประเภทหนึ่งที่ผู้สื่อสารจะต้องคำนึงถึงผู้รับสารเพื่อให้สามารถส่งสารที่ตนปรารถนาจะส่ง  ผ่านสื่อหรือช่องทางไปยังผู้รับสารได้อย่างถูกต้องแม่นยำ  และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับสารตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  การเผยแพร่ระบบทางการศึกษาไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือหน่วยงานจำเป็นจะต้องประยุกต์หลักการทางจิตวิทยามาใช้  เพื่อให้ผู้รับการเผยแพร่เห็นคุณค่าของระบบการศึกษาที่จะได้พัฒนาขึ้น

         หลักการทางจิตวิทยาที่สามารถจะนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับ  การเผยแพร่ระบบทางการศึกษาได้แก่  หลักการจากทฤษฎีเชื่อมโยงนิยมและหลักการจากทฤษฎีสนาม

          ทฤษฎีเชื่อมโยงนิยม (Associationism)  ชี้ว่า  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าหรือตัวแหย่  (Stimulus-S)  และการตอบสนอง (Response)  แล้วมีการเสริมแรง(Reinforcement-Re)  ด้วยผลที่ออกมาทางบวกนั่นคือ  หากผู้รับการเผยแพร่ได้รับสิ่งเร้าหรือตัวแหย่แล้ว  ก็จะมีการตอบสนอง  เมื่อผู้รับตอบสนองและได้รับการเสริมแรงทางบวกหรือความพอใจจากคำชมของผู้เผยแพร่หรือจากความสุขของตนเอง  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็จะเกิดขึ้น

           ในการเผยแพร่ระบบทางการศึกษา  การให้สิ่งเร้าอาจอยู่ในรูปของข้อสนเทศจากการบรรยาย  จากเอกสาร  คำขวัญ  นิทรรศการ  ได้ทราบแนวคิด  ความรู้  และคุณค่าของการจัดระบบ  ฯลฯ  ผู้รับการเผยแพร่อาจตอบสนองด้วยการชักถามปัญหา  แสดงความเห็น  หรือแสดงการคัดค้านแต่ได้รับคำชี้แจงจนพอใจ  แล้วได้รับคำชมจากฝ่ายเผยแพร่  หรือความพอใจที่เกิดจากการใคร่ครวญว่าการจัดระบบเป็นสิ่งดีงาม  ก็จะเกิดความเห็นคล้อยตามและเกิดการยอมรับในทีสุด  ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับระดับการแหย่  ระดับการตอบสนอง  และระดับของการเสริมแรง

                หลักการจากทฤษฎีสนาม  (Gestalt  of  Field  Theory)  ชี้ว่า  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อผู้รับเห็นความจำเป็นที่จะต้องยอมรับสิ่งที่กำลังเผยแพร่  ได้ลงมือกระทำหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่กำลังเผยแพร่  และได้อยู่ในบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งทางกายภาพและจิตภาพแล้ว  ผู้รับก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคือยอมรับสิ่งที่กำลังเผยแพร่ได้ง่ายขึ้น

                ในการเผยแพร่ระบบทางการศึกษา  ผู้เผยแพร่จำเป็นจะต้องใช้เวลาชี้ชวนโน้มน้าวใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบ  ได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดระบบ  ข้อดี  และคุณประโยชน์ที่พวกเขาและองค์กรจะได้รับ  โดยไม่สรุปหรือทึกทักเอาว่าผู้รับจะทราบแล้ว  หรือไม่มีความจำเป็นจะต้องทราบ  เมื่อชี้แจงให้ผู้ได้รับทราบความจำเป็นของการที่จะต้องจัดระบบทางการศึกษา  แล้วก็ดำเนินการขอความร่วมมือให้ให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการจัด  และการใช้ระบบแล้วแต่ความเหมาะสมว่า  จะให้มีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด  ตามฐานะและตำแหน่งหน้าที่  ท้ายสุดก็สร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อการจัดและการใช้ระบบทททางการศึกษานั้นๆ

            จากทฤษฎีทางจิตวิทยาทั้งสองทฤษฎีข้างต้น  เมื่อนำมาประสานสัมพันธ์กันแล้วก็สามารถกำหนดหลักการทางจิตวิทยาที่เป็นเงื่อนไขที่เอื้อต่อการยอมรับแนวคิดใหม่ๆได้ 4 ประการ คือ  การให้มีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง  การได้รับการติชมทันที  การได้รับความสำเร็จและความภาคภูมิใจ  และการให้ได้ใคร่ครวญตามทีละน้อยตามลำดับขั้น

            การให้ผู้รับมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง  (Active Participation)  เป็นวิธีการทำให้ผู้รับมีความเห็นคล้อยตามได้ดีที่สุด  เพราะการที่ผู้ได้รับมีส่วนร่วมจะทำให้ได้ศึกษา  ได้ติดตาม  และมีความรู้สึกว่า  ตนเองเป็น “เจ้าของ”  ระบบด้วย  ปัญหาจึงอยู่เพียงว่า  จะทำให้ผู้รับทั้งหมดมีส่วนร่วมได้อย่างไร  ตามบทบาทของแต่ละคน

             การให้ผู้รับได้รับคำติชมทันที (Immediate  Feedback)  เป็นการให้ผู้รับทราบว่าการได้มีส่วนร่วมของตนมีความถูกต้องหรือก้าวหน้าหรือไม่  ทำถูกก็จะได้ทราบว่าถูก  ทำผิดก็จะได้หาทางแก้ไข  ด้วยวิธีนี้  จะทำให้ผู้รับมีความรู้เรื่องการจัดระบบหรือเรื่องที่กำลังเผยแพร่ดียิ่งขึ้น
            การให้ผู้รับได้รับความสำเร็จและความภาคภูมิใจ  (Success  Experience)  เป็นผลสืบเนื่องมาจากการได้มีส่วนร่วมและการได้รับคำติชมทันที  สิ่งที่ถูกต้องและความพอใจที่ได้รับจากความสำเร็จเหล่านั้นจะเป็นการเสริมแรงให้ผู้รับอยากมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น

      การให้ผู้รับได้ใคร่ครวญตามทีละน้อยตามลำดับ (Graduli  Approxion)  เป็นการให้ผู้รับได้ข้อมูลที่ถูกต้องทีละน้อย  ให้ผู้รับได้คิดได้ใคร่ครวญตามจนเห็นและผลของการจัดระบบแล้วก็เข้าใจและให้การยอมรับในที่สุด




                                                                                                                      
ที่มา : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์

ศาสตราจารย์  ดร. ชัยยงค์  พรหมวงศ์

รองศาสตราจารย์  ดร. ไชยศ  เรืองสุวรรณ

 


                                                                                                                                       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น